Hilfe für Kurse suchen

ทสธ.131 การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากให้ผู้มีความต้องการพิเศษ 1 (DPH.131)

หลักการสร้างเสริมสุขภาพ/สุขภาพช่องปากสำหรับผู้มีความต้องการพิเศษ ทักษะการสื่อสาร การจัดการด้านสุขภาพ/สุขภาพช่องปาก ระดับบุคคล และครอบครัว หน้าที่ทันตบุคลากรในทีมการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อผู้มีความต้องการพิเศษ


LA204 Seminar in Civil Law 1 สัมมนากฎหมายแพ่ง 1

ศึกษาปัญหาอันเป็นรากฐานและปัญหาปัจจุบันของกฎหมายแพ่งและฝึกฝนวิธีการให้ความเห็นทางกฎหมาย

The course is intended to explore fundamental issues and current issues underlying general principles of civil law. It also provides a forum for practicing the giving of legal opinions.

กิจกรรม: ฟังบรรยาย,  เสนอรายงาน,  อ่านตำรา, บทความ, วิเคราะห์ปัญหา, ร่วมเสวนาอภิปราย

               ให้นักศึกษาเลือกผู้แทนกิจกรรมของห้อง โดยมีผู้แทนฝ่ายชาย ๑ คน และผู้แทนฝ่ายหญิง ๑ คน เพื่อช่วยประสานงานระหว่างเพื่อนนักศึกษากับอาจารย์ และนำเสนอข้อเสนอแนะต่าง ๆ และกิจกรรมเสริมหลักสูตร (ถ้ามี)

                ร่วมกันศึกษาค้นคว้า และเสนอรายงานส่วนบุคคล โดยให้เสาะหาหัวข้อที่ตนสนใจจะทำการศึกษา และเสนอหัวข้อรายงานในขอบเขตหลักทั่วไปของกฎหมายแพ่ง เน้นการศึกษาค้นคว้าในขอบเขตวิชากฎหมายแพ่งหลักทั่วไป และนิติกรรมสัญญาโดยปรึกษากับอาจารย์ผู้สอนภายใน  ๕  สัปดาห์  (๑๑  กุมภาพันธ์  ๒๕๖๓)

                นักศึกษาจะต้องพัฒนาความสามารถของตนในการค้นคว้า และนำเสนอความคิดเห็นของตน รวมทั้งฝึกทักษะในการวิพากษ์วิจารณ์ คาดหมายปัญหาที่อาจเกิดขึ้น และตอบข้อโต้แย้งทางกฎหมาย

การวัดผล:  วัดผลจากการเสนอรายงานการศึกษาค้นคว้า โดยนักศึกษาต้องดำเนินการตามระเบียบวิธีการค้นคว้าวิจัยทางกฎหมาย มีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาเสนอที่ชัดเจน มีการแยกแยะแนวความเห็นต่าง ๆ และวิเคราะห์ข้อดีข้อเสีย พร้อมทั้งนำเสนอมติของตนเอง และการมีส่วนร่วมอภิปรายปัญหาในชั้นเรียนด้วย โดยจะคิดคะแนนรายงานผลการค้นคว้าวิจัยร้อยละ  ๗๐  และคะแนนมีส่วนร่วมซักถาม  อภิปรายในห้องเรียนร้อยละ  ๓๐

หนังสือตำราที่แนะนำ

ตำราไทยทุกเล่ม

ตำราภาษาต่างประเทศ

Konrad Zweigert/ Hein Koetz, Introduction to Comparative Law, (Transl. By Tony Weir), Oxford, 1998

Beatson & Friedmann (ed.), Good Faith and Fault in Contract Law, Oxford 1997

Reinhard Zimmermann/Simon Whittaker, Good Faith in European Contract Law, Cambridge U.Press 2000

Hugh Beale/Arthur Hartkamp/Hein Koetz/ Denis Tallon, Casebooks on the common Law of Europe: Contract Law, Hart Publishing, Oxford and Portland, 2002

Basil Markensinis/Hannes Unberath/ Angus Johnston: The German Law of Contract, A Comparative Treatise, Oxford, Hart Publishing, 2006

 

ให้นักศึกษาค้นคว้าตำรา บทความ และกำหนดหัวข้อรายงานที่แนะนำ

๑.       เกี่ยวกับการชำระและร่างประมวลกฎหมายของไทย และในประเทศต่าง ๆ ในอดีต เช่นในออสเตรีย ฝรั่งเศส เยอรมัน สวิส ญี่ปุ่น และความเคลื่อนไหวปรับปรุง หรือจัดทำประมวลกฎหมายใหม่ในปัจจุบัน เช่นในจีน รัสเซีย โปแลนด์ เวียดนาม กัมพูชา และลาว และในสหภาพยุโรป

๒.       เกี่ยวกับความมีผลบังคับของกฎหมาย โดยเฉพาะปัญหาความมีผลบังคับย้อนหลัง หรือการมีผลบังคับต่างกันในต่างท้องถิ่น ในกรณีต่าง ๆ ปัญหาการใช้กฎหมายอิสลามใน ๔ จังหวัดภาคใต้

๓.       ปัญหาบ่อเกิดแห่งกฎหมาย การใช้และการตีความกฎหมาย การปรับใช้กฎหมายเฉพาะ กฎหมายทั่วไป ปัญหาลำดับชั้นของกฎหมาย ปัญหากฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญ และปัญหาผลข้างเคียงของกฎหมายอื่นต่อกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่นการอ้างหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญในทางแพ่งและพาณิชย์

๔.       ปัญหาการใช้สิทธิโดยสุจริตในเรื่องต่าง ๆ หรือการกระทำโดยจำเป็นที่ทำให้ผู้กระทำมีอำนาจกระทำได้โดยชอบ

๕.       ปัญหาเกี่ยวกับการเริ่มต้นและสิ้นสุดสภาพบุคคล ความสามารถของผู้เยาว์ คนสติฟั่นเฟือน (โดยเฉพาะคนชรา) คนวิกลจริต ปัญหาความสามารถทำนิติกรรมของคนเมาไม่ได้สติ ปัญหาเกี่ยวกับผู้ไม่อยู่และคนสาบสูญ และปัญหาการจัดการทรัพย์สิน หรือการจัดการงานของบุคคลเหล่านั้น

๖.       ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับนิติบุคคล สมาคม มูลนิธิ เช่นปัญหาการเลือกตั้งกรรมการ หรือปัญหาการจัดระเบียบการประชุมของสภาอุตสาหกรรม หรือสมาคมฟุตบอล ฯลฯ

๗.       ปัญหาเกี่ยวกับขอบเขตความหมาย และพัฒนาการข้อความคิดเรื่องทรัพย์ และทรัพย์สิน ประเภทของทรัพย์สิน และความเกี่ยวพันระหว่างทรัพย์ เช่น ส่วนควบ อุปกรณ์ ดอกผล เช่นความเป็นทรัพย์สินของอวัยวะ ข้อมูลส่วนบุคคล หรือเงินดิจิตัล ฯลฯ และปัญหาความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ไม่ใช่ทรัพย์สินกับสิ่งที่เป็นทรัพย์นอกพาณิชย์ หรือปัญหาเกี่ยวกับสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เป็นต้น


วิชากฎหมายครอบครัว น.203 หลักสตูร 256

แนวคิดและหลักการส าคัญของสถาบันครอบครัวและความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว หลักกฎหมายลักษณะครอบครัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และตามกฎหมายพิเศษอื่นที่ เกี่ยวข้อง



เค้าโครงการบรรยาย (ภาคปกติ)

วิชากฎหมายครอบครัว น.203 หลักสูตร 2561

ผู้บรรยาย : ผศ.ดร. เอมผกา  เตชะอภัยคุณ

ติดต่อ Email : aimpaga@gmail.com

ห้อง 309 ตึกคณะนิติศาสตร์ ศูนย์รังสิต ชั้น 3

               

                                                                                                                  

 

ชื่อวิชา/หน่วยกิต

          วิชา น.203 (หลักสูตร 2561) กฎหมายลักษณะครอบครัว3 หน่วยกิต

วัน เวลา บรรยาย

          ทุกวันพฤหัส เวลา 13.30 – 16.30 น. (รวมเวลาบรรยาย 45 ชั่วโมง)

 

คำอธิบายรายวิชา

          แนวคิดและหลักการสำคัญของสถาบันครอบครัวและความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว หลักกฎหมายลักษณะครอบครัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และตามกฎหมายพิเศษอื่นที่เกี่ยวข้อง

 

วิธีการศึกษา

          1. บรรยายพร้อมทั้งยกตัวอย่างฎีกาที่น่าสนใจและข้อเท็จจริงในปัจจุบันประกอบการสอนโดยศึกษาจากเอกสารอ่านประกอบการสอนและบทบัญญัติกฎหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5

          2. ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการคิดและตอบคำถามจากข้อเท็จจริงหรืออุทธาหรณ์ที่นำมาเป็นตัวอย่างประกอบการบรรยาย

 

 

การวัดผล

·       สอบกลางภาค 20 คะแนน โดยมีกรอบเนื้อหาที่บรรยายก่อนสอบกลางภาค

·       ข้อสอบ Take Home 20 คะแนน

·       สอบปลายภาค 80 คะแนน โดยมีกรอบเนื้อหาที่บรรยายทั้งหมด

วันที่ 19 พฤษภาคม 2563

 ผู้สอบจะต้องได้คะแนนสอบทั้งเก็บคะแนน กลางภาค คะแนนข้อสอบ Take home และปลายภาครวมกันไม่น้อยกว่า 60 คะแนน จึงจะถือว่าสอบผ่าน

 

เอกสารแนะนำประกอบการบรรยาย

1. ไพโรจน์  กัมพูสิริ, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ครอบครัว, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

2. ประสพสุข  บุญเดช, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วย ครอบครัว, กรุงเทพฯ.

3. รัศฎา  เอกบุตร, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว : บิดามารดาและบุตร, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นิติธรรม.

 

เอกสารแนะนำเพิ่มเติม :  อาจารย์ผู้บรรยายจะแจ้งให้ทราบในชั้นเรียน นักศึกษาสามารถ download เอกสารประกอบการเรียนการสอนได้ที่ www.moodle.tu.ac.th

 

 

-----------------------------------------------------


เค้าโครงการบรรยาย

 

ครั้งที่

วันที่

หัวข้อ

1

16 ม.ค.

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายครอบครัวไทย

ส่วนที่ 1 การหมั้น

1) เงื่อนไขการหมั้น

1.1 อายุ

1.2 ความยินยอมในกรณีผู้เยาว์จะทำการหมั้น

1.3 ของหมั้น

 

2

23 ม.ค.

ส่วนที่ 1 การหมั้น

2) ทรัพย์สินประกอบการหมั้น – สินสอด

3) ผลของสัญญาหมั้น

3.1 กรณีผิดสัญญา ตามมาตรา 1439

3.2 กรณีผิดสัญญา ตามมาตรา 1444

3

30 ม.ค.

ส่วนที่ 1 การหมั้น

3.3 ค่าทดแทน ตามมาตรา 1440 เมื่อเกิดกรณีผิดสัญญา

3.4 ค่าทดแทนจากผู้อื่น ซึ่งได้ร่วมประเวณีกับคู่หมั้น

3.5 ค่าทดแทนจากผู้อื่น ซึ่งได้ข่มขืน หรือพยายามข่มขืนกระทำชำเราคู่หมั้น

4) หลักของค่าทดแทน

4.1 กรณีที่เป็นสิทธิเฉพาะตัว

4.2 กรณีที่ไม่เป็นสิทธิเฉพาะตัว

4.3 อายุความฟ้องร้อง

4

6 ก.พ.

ส่วนที่ 1 การหมั้น

5) การสิ้นสุดของสัญญาหมั้น

5.1 โดยความยินยอม

5.2 ความตายของคู่หมั้น

5.3 การบอกเลิกสัญญาหมั้น

   ก. มีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้น

    ข. มีเหตุสำคัญอันเกิดแก่ชายคู่หมั้น

    ค. คู่หมั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกระทำชั่วอย่างร้ายแรง

    

13 ก.พ.

                                     ส่วนที่ การสมรส     

1) เงื่อนไขการสมรส

1.1 เงื่อนไขเกี่ยวกับความยินยอม

    ก. ความยินยอมของชายหญิงที่จะทำการสมรส

    ข. ความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมกรณีผู้เยาว์จะทำการสมรส

1.2 เงื่อนไขเกี่ยวกับสรีระ – เกณฑ์อายุ

1.3 เงื่อนไขเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี

     ก. การสมรสกับบุคคลวิกลจริต

     ข. การสมรสกับญาติสืบสายโลหิต

     ค. สมรสซ้อน

 

6

20 ก.พ.

ส่วนที่ 2  การสมรส

1.4 เงื่อนไขเกี่ยวกับการแสดงเจตนา

     ก. สมรสโดยสำคัญผิดตัวคู่สมรส

     ข. สมรสโดยถูกกลฉ้อฉล

     ค. สมรสโดยถูกข่มขู่

2) ข้อห้ามมิให้นายทะเบียนทำการจดทะเบียนสมรส

2.1 สมรสกับบุตรบุญธรรม

2.2 หญิงที่การสมรสสิ้นสุดลงไม่เกิน 310 วัน

2.3 คู่สมรสซึ่งได้ครอบครองทรัพย์สินของบุตรจะสมรสใหม่

7

27 ก.พ.

ส่วนที่ 2  การสมรส     

3) ความเป็นโมฆะของการสมรสและผล

 3.1 เหตุที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ

     ก. สมรสกับบุคคลวิกลจริต

     ข. สมรสกับญาติสืบสายโลหิต

     ค. สมรสโดยปราศจากความยินยอม

    ง. สมรสซ้อน

3.2 ผลของการสมรสที่เป็นโมฆะ

   ก. ผลระหว่างชายหญิงคู่สมรส

   ข. ผลเกี่ยวกับบุตร

   ค. ผลต่อบุคคลภายนอก

4) ความเป็นโมฆียะของการสมรสและผล

4.1 เหตุที่จะขอให้ศาลเพิกถอนการสมรสโดยเหตุโมฆียะ

   ก. ฝ่าฝืนเงือนไขเรื่องอายุ

   ข. ฝ่าฝืนเงือนไขเรื่องความยินยอม

   ค. สมรสโดยสำคัญผิดตัวคู่สมรส

   ง. สมรสโดยถูกกลฉ้อฉล

   จ. สมรสโดยถูกข่มขู่

4.2 ผลของการสมรสที่เป็นโมฆียะ

  ก. ผลระหว่างชายหญิงคู่สมรส

  ข. ผลเกี่ยวกับบุตร

  ค. ผลต่อบุคคลภายนอก

5) การสมรสในต่างประเทศ

6) การสมรสกรณีพิเศษ

8

12 มี.ค.

ส่วนที่ 3  ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา

1) ระบบทรัพย์สินและอำนาจจัดการ

1.1 สินส่วนตัว

1.2 สินสมรส

2) สัญญาเกี่ยวกับการสมรส

 2.1 สัญญาก่อนสมรส

 2.2 สัญญาระหว่างสมรส

9

19 มี.ค.

3) หนี้สินของสามีภริยา

 3.1 หนี้สินระหว่างสามีภริยา

 3.2 หนี้ของสามีภริยาต่อบุคคลภายนอก

  ก. หนี้ส่วนตัว

  ข. หนี้ร่วม

4) การแยกสินสมรส

4.1 กรณีศาลสั่งแยกตามคำร้องขอของสามีหรือภริยา

  ก. เหตุมาตรา 1484

  ข. เหตุที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคนไร้ความสามารถ

4.2 แยกโดยอำนาจกฎหมายเมื่อสามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาให้ล้มละลาย

4.3 ผลของการแยกสินสมรส

10

26 มี.ค.

ส่วนที่ การหย่าขาดจากการสมรส

1) วิธีการหย่า

1.1 การหย่าโดยความยินยอม

   ก. แบบ

   ข. การจดทะเบียน

1.2 การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล

   ก. เหตุหย่าเนื่องมาจากการที่ชีวิตสมรสสิ้นสุดลง

      (1) แยกกันอยู่

      (2) สาบสูญหรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่

      (3) วิกลจริต

      (4) เป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรง

      (5) สภาพแห่งการทำให้ไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล

   ข. เหตุหย่าอันเนื่องจากการที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกระทำผิด

      (1) มีชู้

      (2) ประพฤติชั่ว

      (3) ทำร้าย ทรมาน หมิ่นประมาท  หรือเหยียดหยาม

      (4) จงใจละทิ้งร้าง

      (5) ต้องคำพิพากษาให้จำคุก

      (6) ไม่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูหรือทำการเป็นปฏิปักษ์อย่างร้ายแรง

       (7).ผิดทัณฑ์บนในเรื่องความประพฤติ

2) ผลแห่งการหย่า

 2.1 การหย่าโดยความยินยอม

  ก. วันมีผลของการหย่า

  ข. ผลต่อคู่สมรสในทางทรัพย์สิน

  ค. ผลต่อบุตร

       (1) อำนาจปกครองบุตร

       (2) สิทธิติดต่อกับบุตร

       (3) ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร

2.2 การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล

     ก. วันมีผลของการหย่า

     ข. ผลต่อคู่หย่า

      (1) การแบ่งทรัพย์สินและความรับผิดในหนี้

      (2) ค่าเลี้ยงชีพ

      (3) ค่าทดแทน

    ค. ผลต่อบุตร

      (1) อำนาจปกครอง

      (2) สิทธิติดต่อกับบุตร

      (3) ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร

   ง.  ผลต่อบุคคลภายนอก

 

11

2 เม.ย.

ส่วนที่ 5  บิดามารดากับบุตร

หมวดที่ 1 บททั่วไป

1) ข้อสันนิษฐานการตั้งครรภ์

2) ข้อสันนิษฐานความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย

2.1 ข้อสันนิษฐานตามมาตรา 1536

2.2 ข้อสันนิษฐานตามมาตรา 1537

2.3 ข้อสันนิษฐานตามมาตรา 1538

12

9 เม.ย.

ส่วนที่ บิดามารดากับบุตร

3) การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร

4) การฟ้องคดีปฏิเสธความเป็นบุตร

5) วิธีการเปลี่ยนสถานะของบุตรนอกสมรสให้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย

 5.1 บิดามารดาสมรสกันภายหลัง

5.2 บิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร

 5.3 ศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตร

 

 

 

13

23 เม.ย.

ส่วนที่ บิดามารดากับบุตร

หมวดที่ 2 สิทธิหน้าที่ของบิดามารดาและบุตร

1) สิทธิและหน้าที่ของบุตรต่อบิดามารดา

1.1 สิทธิใช้ชื่อสกุล

1.2 ห้ามฟ้องบุพการี

1.3 หน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดู

2) สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาที่มีต่อบุตร

2.1 หน้าที่อุปการะเลี้ยงดู

2.2 อำนาจปกครอง

14

30 เม.ย.

                                ส่วนที่ 5  บิดามารดากับบุตร

 

หมวดที่ 3 ความปกครอง

1) การตั้งผู้ปกครอง

2) อำนาจหน้าที่ของผู้ปกครอง

3) การสิ้นสุดของความปกครอง

15

7 พ.ค.

                              ส่วนที่ 5  บิดามารดากับบุตร
หมวดที่ 4 บุตรบุญธรรม

1) เงื่อนไขเกี่ยวกับการรับบุตรบุญธรรม

          1.1 เงื่อนไขเกี่ยวกับอายุของผู้รับบุตรบุญธรรมและผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม

          1.2 เงื่อนไขเกี่ยวกับความยินยอม

2) การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม

3) ความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรม

4) การเลิกรับบุตรบุญธรรมและผล

 ทบทวน

 

ติดตามประกาศการเรียนการสอนที่

http://www.law.tu.ac.th/blog/ปริญญาตรี-ภาคปกติ-ศูนย์ร/

หรือ

Facebook Page: งานบริการการศึกษา คณะนิติศาสตร์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                  

 


LA100 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายและระบบกฎหมาย / Introduction to Law and Legal System (Sec 2)

ฃอบเขตของวิชานิติศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างวิชานิติศาสตร์กับศาสตร์สาขาอื่น ระบบกฎหมาย ความหมาย ความเป็นมา และบ่อเกิดของกฎหมาย นิติวิธี หมวดหมู่ของกฎหมาย ข้อความคิดพื้นฐานทางกฎหมาย เช่น สิทธิ หน้าที่ ความรับผิด ขอบเขตการใช้สิทธิ เช่นการใช้สิทธิในทางที่ผิด หลักสุจริต รวมทั้งหลักทั่วไปของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 อันเป็นความรู้พื้นฐานของระบบกฎหมายไทย โดยเฉพาะหลักกฎหมายว่าด้วยบุคคล นิติกรรม และทรัพย์สิน

This course is intended to explore the scope of legal study, interrelations among laws and other sciences. Legal systems, definition, background, and sources of law will also be examined as well as legal methods, classification of laws, and fundamental concepts of law, such as rights, duties, scope of rights and principle of good faith. General principles of law enshrined in the Civil and Commercial Code Book I, such as those concerning persons, Juristin acts, and property, which are fundamental to the Thai legal system are also discussed.

LA209 หลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำอธิบายรายวิชา

น.209       หลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์                              3 (3–0–6)

LA209      Civil and Commercial Law

วัน-เวลาของการเรียนการสอน    วันจันทร์ อังคาร พุธ เวลา 13.30-16.30

ห้องเรียน         SC1001

วันสอบไล่        23 ก.ค. 2562 เวลา 13:00 - 16:00

อาจารย์ผู้สอน   อ.ดร. เอมผกา เตชะอภัยคุณ

วิทยากรพิเศษ อ.สุประวีณ์ อาสนศักดิ์