Help with Search courses

ประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก 1/2563

ศึกษาวิวัฒนาการด้านศิลปะตะวันตก  โดยเน้นยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญๆ ในรูปแบบและเอกลักษณ์ของแต่ละยุค  ปัจจัยทางด้านวัฒนธรรมและอิทธิพลต่อศิลปะ  รวมไปถึงประเด็นที่สำคัญๆ และบริบทต่างๆ ในประวัติศาสตร์ทั้งในแง่มุมทางความคิด สังคมและการเมือง ตั้งแต่ยุคโบราณไปจนถึงการกำเนิดขึ้นของศิลปะสมัยใหม่ โดยวิชานี้มุ่งให้นักศึกษาควรมีความรู้ดังต่อไปนี้

1. เข้าใจภาพรวมของศิลปะที่เกิดและพัฒนาขึ้นในโลกตะวันตก

2. รู้จักงานศิลปะชิ้นสำคัญๆ รวมไปถึงบริบทและการตีความงานศิลปะชิ้นนั้นๆ


ประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตก 1/2563

ศึกษาพัฒนาการของการเขียนและแนวคิดทางประวัติศาสตร์ตะวันตกตั้งแต่สมัยโบราณมาถึงปัจจุบัน โดยจะมองประวัติศาสตร์นิพนธ์ในแง่ของทัศนะทางประวัติศาสตร์ วิธีการ หลักการ ปรัชญาและวรรณกรรม โดยวิชานี้มุ่งให้นักศึกษาควรมีความรู้ดังต่อไปนี้

1. เข้าใจ ประวัติศาสตร์ ในฐานะงานเขียนประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นและพัฒนาขึ้นในโลกตะวันตก

2. เข้าใจสำนึกทางประวัติศาสตร์ ปรัชญาและทฤษฎีประวัติศาสตร์ต่างๆ ทั้งในแง่ของหลักการ กรอบวิธีและบริบท รวมถึงนัยยะทางการเมือง สังคมและวัฒนธรรม

3. รู้จักงานเขียนประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญๆ รวมไปถึงหลักการและวิธีการของสำนักหรือสกุลที่สำคัญในปัจจุบัน


HS 406 / 405 HISTORY AND MEDIA CONTENT CREATION 1/2563

การประยุกต์ใช้ข้อมูลและวิธีการศึกษาทางประวัติศาสตร์เพื่อผลิตสื่อรูปแบบต่าง ๆ ตลอดจนการนำเสนอประวัติศาสตร์อย่างสร้างสรรค์

HS216 / 225 HISTORY AND CINEMA 1/2563

ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์โลกและประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยโดยสังเขป ปฏิสัมพันธ์ของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์กับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ และปฏิสัมพันธ์ของภาพยนตร์กับสังคมและวัฒนธรรม

ป.266 การท่องเที่ยวในมิติประวัติศาสตร์ /ป.346ประวัติศาสตร์ไทยเพื่อการท่องเที่ยว

คำอธิบายรายวิชา ป.266

พัฒนาการ ปัจจัย และแรงผลักดันที่ท าให้มนุษย์เดินทางท่องเที่ยวในแต่ละห้วงเวลาทางประวัติศาสตร์

ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างการท่องเที่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมใน

บริบทประวัติศาสตร์

คำอธิบายรายวิชา ป.346

ความสัมพันธ์ระหว่างประวัติศาสตร์ไทยกับการท่องเที่ยวทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ เลือกศึกษาประวัติศาสตร์เฉพาะสมัยหรือเฉพาะกรณีที่เหมาะสม มีการศึกษานอกสถานที่


ป.231/241 ประวัติศาสตร์ไทย 2

เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจสาเหตุของความเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีจนถึงช่วงสิ้นสุดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปี พ.ศ.  2475